คำศัพท์จากบทเรียน



อธิบายศัพท์กาพย์พระไชยสุริยา
กะลาง= นกชนิดหนึ่ง ขนาดนกเอี้ยง
กะลิง=นกชนิดหนึ่งปากงุ้มเป็นขอ หัวสีเทาตัวสีเขียว ปากแดงหางยาว
กามา = ความใคร่
กาลกิณี= เสนียดจัญไร
กูณฑ์= ไฟ
ขอสมา= ขออภัย
เกา =ครูดไป
ขันธ= ส่วนหนึ่ง ๆ ของรูปกับนามที่แยกออกเป็น ๕ กอง คือ เวทนา สัญญา สังขาร
วิญญาณ รวมเรียก ขันธ์ ๕
ขื่อคา = เครื่องจองจำนักโทษทำด้วยไม้เจาะประกบคอและมือ
เขนย =หมอน เป็นคำราชาศัพท์ที่มาจากภาษาเขมร
เข้าปลาแลสาลี =ข้าวปลาและข้าวสาลี
คดี = เรื่อง
ครุฑา = ครุฑพาหนะของพระนารายณ์
คอโค = คอโคอศุภราชพาหนะของพระอิศวร ซึ่งอยุ่บนวิมานบนเขาไกรลาส
ค้อนทอง= ชื่อนกชนิดหนึ่ง ร้องดังกุ๊ก ๆ
ค่าง = ลิงชนิดหนึ่ง
คันทรง = ไม้พุ่มดอกเหลือง
คีรี= ภูเขา
จอมอารย์ =อารย แปลว่า เจริญ ในที่นี้ จอมอารย์ หมายถึง พระฤาษี ผู้ทรงศีล
จำเรียง =ขับกล่อม ร้องเพลง
เจ้าสุภา = ตุลาการ
ฉ้อ = ขี้โกง
เฉโก= ฉลาดแกมโกง ไม่ตรง
ช้องนาง=ไม้พุ่มชนิดหนึ่ง ดอกใหญ่สีม่วงออกน้ำเงินเข้ม หลอดดอกสีเหลืองเข้ม
ช่อใบ= ชักรอกไป
ชี นักบวช =(ทั้งชายและหญิง)
ใช้ใบ =กางใบแล่นเรือ
ตรีชา= ตำหนิ ติเตียน
ตะลิงปลิง = ชื่อต้นไม้ มีรสเปรี้ยว
ถือน้ำ =คำเต็มคือ ถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา หมายถึง ดื่มน้ำสาบานว่า จะจงรักภักดีต่อ
พระมหากษัตริย์
เถื่อน = ป่า
เถ้าแก่= ตำแหน่งข้าราชการสตรีที่สังกัดอยู่ในพระราชฐานชั้นใน
ในพระราชสำนักในสมัยก่อน
ท่อเสียง =ประสานเสียง
เทวาสมบัติ= สมบัติในสวรรค์
ธรณี= เมือง แผ่นดิน
นัยนา = ดวงตา
นกหก =นกต่าง ๆ
บ่น= ท่องมักใช้คู่กันเป็นคำซ้อนว่า " ท่องบ่น " เช่น ท่องบ่นถาถา
อาคม
บรรจ์ฐรณ์ =ปัจจุบันเขียน บรรจถรณ์ หมายถึง ที่นอน
บา=ครู อาจารย์ (ดังในคำ ครูบาอาจารย์)
บาฬี =ปัจจุบันเขียนบาลี หมายถึง พุทธพจน์ คือถ้อยคำของ พระพุทธเจ้า
ปฐพี= พื้นแผ่นดิน
ประยงค์= ไม้พุ่มชนิดหนึ่ง
ประเวณี= การะพฤติผิดเมียผู้อื่น
ประสกสีกา = ชายญิงที่นับถือพุทธศาสนา
ปริง= มะปริง
ปัตติ= ส่วนบุญ
พระดาบส= ฤๅษี
พระยาลอ= นกชนิดหนึ่ง ตัวสีเทา ตะโพกสีแดง ขนหางยาว บางครั้งเรียกไก่ฟ้าพญาลอ
พระยาสัมพาที= พยานกในรามเกียรติ์พี่ของนกสดายุผู้บอกทางไปกรุงลงกาให้หนุมาน
พระสุรีย์= ดวงอาทิตย์
พระแสง= อาวุธของมีคม
พลวง= ชื่อธาตุชนิดหนึ่ง
พสุธา=แผ่นดิน
พักตรา = ใบหน้า
พิภพ = โลก ทรัพย์สมบัติ
พุทธันดร= ช่วงเวลาที่ว่างจากพระพทธเจ้า หรือช่วงเวลาระหว่างการเปลี่ยนพระพุทธเจ้า
พระเจ้า= พระพุทธเจ้า
โพล้เพล้ = เวลาพลบค่ำ
พระศรีไตรสรณ =คำเต็ม คือ พระศรีไตรสรณคมน์ หมายถึง พระรัตนตรัย คือ
พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อันเป็นที่พึ่ง
พระสะธำม์ =ปัจจุบันเขียนสัทธรรม หมายถึง คำสอนของพระพุทธเจ้า
ไพชยนต์=ชื่อรถและวิมานของพระอินทร์
ภาษาไสย =ความรู้ทางเวทมนตร์คาถาซึ่งได้มาจากพราหมณ์
เภตรา = เรือ
มณฑล บริเวณ
มรคา = ทาง
มโหรี = วงดนตรีดีดสีตีเป่า
มโหฬาร์ =ยิ่งใหญ่ มโหฬาร
มเหสี= เมียเอก
ม้าฬ่อ =ปัจจุบันเขียน ม้าล่อ หมายถึง แผ่นโลหะเจือ รูปคล้ายถาด ตี ให้มีเสียงดัง เป็นของจีนที่ใช้กัน
เมธา =ปัญญาความรู้ ความฉลาดรอบคอบ ในที่นี้ หมายถึง นักปราชญ์
เมรุ= ภูเขากลางจักรวาลเป็นที่ตั้งของสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ที่อยุ่ของพระอินทร์
โมทนา= พลอยยินดี
ยอแสง= พระอาทิตย์อ่อนแสงใกล้จะพลบค่ำ
เยาวนารี= สาวนรุ่น
โยโส= อวดดี
รัญจวน = ป่วนใจ
ราหู =ปลาฉลามหัวค้อน
รกุขมูล= โคนต้นไม้
ละมั่ง= กวางขนาดเล็ก
โลโภ= โลภ ไม่รู้จักพอ
วาตา = วาตะ ลม
วายุ พยุ = ลมที่พัดแรงมาก
ศฤงฆาร =ปัจจุบันเขียน ศฤงคาร หมายถึง บริวารหญิงผู้บำเรอความรัก แต่ในที่นี้หมายถึง
ทรัยพ์สมบัติ
สะธุสะ= มาจาก สาธุ ดีแล้ว ชอบแล้ว
สังวัจฉระ = ปี
สังวาส= การอยู่ด้วยกัน การร่วมประเวณี
สัตถา= ครู ผู้สอน
สันดาน= สืบต่อ
สุภา = ตุลาการ
หงส์= นกในนิยายตระกูลสูง
เหรา =สัตว์ทะเลชนิดหนึ่ง ตัวคล้ายแมงดาทะเล กินเบื่อเมา
เหล่าเมธา= นักปราชญ์ ผุ้รู้ทั้งหลาย
ไหลมาแต่ในคอโค= แต่ในคอโค แปลว่า จากในคอของโค (วัว) ในที่นี้ หมายถึง น้ำจากสระอโนดาต ในป่าหิมพานต์ที่ไหลออกมาทางคอโค ที่ประจำทิศหนึ่งในสี่ทิศของสระนี้ ในหนังสือไตรภูมิพระร่วง
ตอนป่า หิมพานต์ จะใช้ว่า " ปากวัว" ซึ่งก็หมายถึง คอโค นั้นเอง
อภิญญาณ= ความรู้ยิ่ง 6 ประการ คือ อิทธิฤทธิ ทิพยโสต หูทิพย์ รู้ใจผู้อื่น ระลึกชาติได้ ตาทิพย์ ตัดกิเลส
อวสาน= จบ สิ้นสุด
อะโข = มากหลาย
อะฌาสัย= อัชฌาสัย นิสัยดี
อัปรา= ไปจาก ใช้นำหน้าคำอื่น
อัปรีย์ = ระยำ เลวทราม ไม่เป็นมงคล
อัสดง= อาทิตย์ตก
อาญา= อำนาจ โทษ
อารย์= เจริญ
อีเก้ง= สัตว์ชนิดหนึ่ง เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ฟาน
อีโก้ง =นกชนิดหนึ่งลำตัวสีม่วงปากหนาสีแดง
เอ็นดู =สงสาร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น